ตะวันออกทูเดย์

ข่าวเข้ม ทันสถานการณ์

ข่าวทั่วไป

ธรรมนัสสั่งรองอธิบดีกรมชลประทาน สอบขรก.ชลประทานตราดเอาผิดบกพร่องต่อหน้าที่ และเตรียมให้อธิบดีกรมชลประทานย้ายด่วน บอกชาวตราดจะช่วยเยียวยาความเสียหายและฟ้องร้องได้

          จ.ตราด/เวลา14.15 น.วันที่ 23 กรกฎาคม 2567 มัสยิดเราฎลตุ้ลญีนาน หมู่ที่ 3 ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า)ในการตรวจเยี่ยมติดตามสถานการณ์ อุทภภัยในพื้นที่จ.ตราด พร้อมนายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน และคณะ

        โดย นายพีระ เอี่ยมสุนทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดตราดว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า จ.ตรสดมีพื้นที่ประสบภัย (ระหว่าง 19-21 ก.ค. 2567 ) รวม 2 อำเภอ 6 ตำบล 6 ชุมชน 47 หมู่บ้าน ประกอบด้วย พื้นที่อำเภอเขาสมิง ประกอบด้วย ตำบลทุ่งนทรี หมู่ที่ 1,2,3,5, 7,8,9ตำบลเขาสมิง หมู่ที่ 1-9 ตำบลประณีต หมู่ที่ 6,8 และตำบลแสนตุ้ง หมู่ที่ 1-10 ในอำเภอเมืองตราด

กิจสวัสดิ์ ชุมชนโภคไพร ชุมชนวัดโบสถ์ ชุมชนรักคลองบางพระ ชุมชนทำเรือจ้าง ที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองตราด มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ชุมชนบ้านล่าง ชุมชนตำบลหนองเสม็ด หมู่ที่ 1-7 และตำบลวังกระแจะ หมู่ที่ 1-12 โดยมีประชาชนได้รับผลกระทบ จำนวน 2 อำเภอ 6 ตำบล 6 ชุมชน 47 หมู่บ้าน938 ครัวเรือน 2,840 คน

จากนั้น ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้กล่าวถึงปัญหาน้ำท่วมว่ารัฐบาลพร้อมให้การช่วยเหลือผ่านกระทรวงมหาดไทยที่มีงบประมาณในการเยียวยาในเรื่องของความเสียบหายต่างๆ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดตราดได้ประกาศพื้นที่เขตภัยพิบัติแล้ว จึงสามารถช่วยเหชือประชาลนที่ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ และขอให้รองผู้ว่าราชการจ.ตราดดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิดกับสิ่งที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูแล

และหลังจากนั้นได้มอบถังยั้งชีพให้กับชาวมัสยิดเราฎลตุ้ลญีนาน แล้วเดินทางมาที่บริเวณหน้าโครงการชลประทานตราด ในเวลา 14.45 น.เพื่อรับฟังบรรยายสรุปของนายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทานถึงสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดตรสดที่มี 3 จุดคือ จุดแรกที่ต.แสนตุ้ง ซึ่งท่วมฟาร์มสุกรขนาดใหญ่ จุดที่ 2 บ้านหนองบัว ต.วังกระแจะ น้ำท่วมถนนสุขุวิท ทำให้รถยนต์ไปมาไม่ได้ แต่ในช่วงเย็นระดับน้ำลดลง และจุดที่ 3 คือ บริเวณอ่างเก็บน้ำเขาระกำตอนล่างที่เป็นพื้นที่เก็บน้ำ และมีฝนตกลงมามากจนความจุอ่างที่มี 2.5 ล้านลบม.เต็ม ทำให้ต้องระบายน้ำออกเต็มที เพื่อรักษาอ่างเก็บน้ำไว้ และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ประชาชนในม.3 ตำบลดังกล่าว

ซึ่งหลังจากนั้น ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้ขึ้นกล่าวและขอให้ชาวบ้านได้สอบถาม ซึ่งมีคำถามเรื่องการบริหารจัดการน้ำ เนื่องจาก 50 ปียังไม่เคยปราฏว่าเกิดน้ำท่วม ทำให้ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้ให้นายธำรงศักดิ์ นคราวงศ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานตราดมาชี้แจง แต่ยังไม่ทันจะชี้แจงทั้งหมด ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่าได้พูดสวนขึ้นว่า ได้ให้ทางอธิบดีกรมชลประทานเตรียมย้ายเจ้าหน้าที่ที่บกพร่องต่อการปฏิบัตหน้าที่จนทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบ ซึ่งมีหลายคน ซึ่งวันนี้ รองเดช(รองอธิบดี)อย่าเพิ่งกลับขอให้ตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยให้แล้วเสร็จก่อนแล้วรายงานมาทีทตนเอง ซึ่งใครที่ทำงานบกพร่องจะต้องรับผิบชอบ เพราะเรื่องนี้ตนเองยอมไม่ไดี เพราะเป็นข้าราชการ ซึ่งแม้จะเป็นวันหยุดก็ต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งตนเองยังต้องทำงานทุกวันเลย

หลังจากนั้น ร้อยเอกธรรมนัส ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนกับปัญหาต่าง ๆ  บริเวณที่ให้สามภาษณ์คืออ่างเก็บน้ำสระสีเสียด ซึ่งสถานที่นี้เป็นจุดที่มีการปล่อยน้ำที่มีส่วนสำคัญจะต้องมีขั้นตอน. มีแผนระยะยาว เราต้องฟังกรมอุตุนิยมวิทยาตามตลอดเวลาจะมีฝนตกปริมาณขนาดไหน และต้องมาวางแผนว่าแต่ละวันจะปล่อยน้ำยังไง และระ บายน้ำอย่างไรเป็นเรื่องสำคัญ ถือว่าเป็นเรื่องที่กรมชลประทานถอดบทเรียนว่าจะต้องทำอย่างไร การรระบายน้ำเพื่อรองรับการป้องกันน้ำท่วมและเกิดความเสียหายต่อพี่น้องประชาชนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ จะต้องมีแผนไม่ใช่ว่ามีวันหยุดราชการหลายวันจะหายกันหมดไม่ได้ ต้องมีคนที่รับผิดชอบตนเองจึงต้องเดินทางมาด้วยตัวเองเพราะเป็นเรื่องเสียหายและตนเองจะไม่ปล่อยให้เกิด จะไม่เอาผิดใครเลยไม่ได้จึงตั้งกรรมการสอบสวนเพื่อเอาผิด

“ความบกพร่องที่เกิดขึ้นนั้นคงไม่มีเจตนา เพียงแต่ว่าการทำงานอาจจะบกพร่องจากการคาดการณ์อะไรก็แล้วแต่ จะต้องมีคนรับผิดชอบในเรื่องนี้ ส่วนเรื่องฝนตกปริมาณมากนั้นกรมชลประทานในฐานะที่เป็นผู้บริหารจัดการน้ำ. จะต้องมีการติดตามสถานการณ์น้ำตลอดเวลา เราจะมีวอร์รูมตรวจสอบน้ำทั้ง 77 จังหวัด เรามีศูนย์บริหารจัดการน้ำในทุกจังหวัด ฉะนั้นจังหวัดไหนที่ทำงานแล้วไม่ใส่ใจในเรื่องนี้ ผมจำเป็นจะต้องเอาจริงเอาจัง เพราะฉะนั้นวันนี้ผมต้องเดินทางมาเอง แม้ผมจะมีภารกิจในช่วงเย็น เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาโดยเร็ว“ร.อ.ธรรมนัส กล่าวและว่า การทำงานเรื่องน้ำจะต้อลทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การทำงานไม่เกิดความเสียหาย และเรื่องนี้จะไม่ใช้การโยกย้ายอย่างเดียวแต่จะเอาผิดทางวินัยด้วย ซึ่งมั่นใจว่า จะสามารถแก้ปัญหาได้ ทั้งนี้ น้ำในภาคตะวันออกจะมีปริมาณน้ำมาก ซึ่งจ.จันทบุรีและตราดมีฝนตกหนัก

ส่วนเรื่องการออกคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วทำไม่ได้นั้น จริงๆผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถสั่งงานได้ แต่หากข้าราชการดื้อก็จะไปว่ากล่าวกัน ส่วนความเสียหายที่เกอดกับทรัพย์ของประชาชนนั้นทางราชการจะเยียวยาให้ตามระเบียบของทางราชการ และหากประชาชนผู้ได้รับความเสียหายจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายก็สามารถทำได้เช่นกัน ……

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *