นางสาว ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย พร้อมมอบสิ่งของยังชีพและรับฟังปัญหาจากชาวบ้านในพื้นที่ พร้อมรับฟังประชุมสรุปผลการปฏิบัติงานและความคืบหน้าประจำวัน ณ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ส่วนหน้า) จังหวัดเชียงราย
วันนี้ (3 ตุลาคม 67) ผู้สื่อข่าวรายงาน นางสาว ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่บ้านลิไข่ ต.นางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยจุดแรกได้ลงดูจุดตรงกลางสะพานหมู่บ้าน ซึ่งผู้ใหญ่บ้านได้ร้องขอให้มีการปรับฝายน้ำล้นให้เป็นสปริงเวย์ แทนประตูเปิด-ปิด ที่ต้องใช้คนเพราะหากเวลาน้ำมามากจะทำให้เกิดอันตรายกับคนที่ต้องไปทำหน้าที่ จากนั้นได้ไปมอบสิ่งของอุปโภคบริโภคให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในครั้งนี้ พร้อมพูดคุยสอบถามความเป็นอยู่และสิ่งที่ต้องการให้ช่วยเหลือ
ต่อมาได้เดินทางไปพบปะกับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าและลาหู่ เพื่อมอบสิ่งของอุปโภค ยารักษาโรค ให้กับประชาชน ซึ่ง ณ จุดนี้ประชาชนได้ขอให้ซ่อมสะพานที่ใช้สัญจรไปมา โดยทำทางเบี่ยง และขอสัญญาณโทรศัพท์ เนื่องจากจุดนี้ไม่ค่อยมีสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต ” ซึ่ง นางสาว ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับจะประสานหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ให้โดยเร็ว และหากประชาชน ต้องการขอความช่วยเหลือ ให้ติดต่อ ศปช.ส่วนหน้า จังหวัดเชียงราย หมายเลข 0931311784
จากนั้นได้ไปดูถนนที่เกิดดินสไลด์บริเวณข้างอ่างเก็บน้ำหนองผำ ตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เพื่อสำรวจความเสียหาย และสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวังพื้นที่ดังกล่าว
สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน ศปช.ส่วนหน้าขอรายงานว่าเมื่อคืนวันที่ 2-3 ตุลาคม 2567 มีฝนตกหนัก ถึงหนักมากในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย ส่งผล ให้เกิดเหตุสถานการณ์ อุทกภัย อำเภอ แม่สาย อำเภอ เวียงป่าเป้า และอำเภอ เชียงราย ซึ่งขณะนี้สถานการณ์ ระดับน้ำทรงตัวแล้ว
ทั้งนี้ นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ ปฏิบัติการช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ส่วนหน้า)ได้สั่งการให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือ โดยให้เสริมกำลัง เจ้าหน้าที่เพื่อเร่งเปิดทางน้ำ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อเร่งระบายน้ำ โดยดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุ และวางแผนป้องกัน การเกิดเหตุซ้ำ ตลอดจนติดตาม สถานการณ์ รวมถึงการพยากรณ์สภาพอากาศ ตลอด 24 ชั่วโมง หากมีสถานการณ์ จะเร่งแจ้งเตือน ประชาชนทราบโดยเร็ว